หวั่นเคส‘ไพบูลย์’ ทำพรรคเล็กเลียนแบบ สร้างปรากฎการณ์ ส.ส.อมตะ ไม่มีวันตาย
หวั่นเคส‘ไพบูลย์’ ทำส.ส.พรรคเล็กเป็นอมตะ– วันที่ 23 ส.ค. นายสติธร ธนานิธิโชติ รักษาการผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า กล่าวกรณี นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ขอยุบเลิกพรรคประชาชนปฏิรูปต่อกกต.
ระบุว่า การเลิกกิจการพรรคหรือทำให้พรรคสิ้นสภาพทำได้ตามกฎหมายซึ่งเปิดช่องไว้ และกฎหมายก็ให้ความคุ้มครองสถานภาพของส.ส.เมื่อพรรคถูกยุบแล้ว ต้องสังกัดพรรคการเมืองภายใน 60 วัน ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคใดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม กฎหมายพรรคการเมือง ระบุถึงการยุบพรรคไว้ชัดเจนว่าการสิ้นสภาพ กับการถูกคำสั่งยุบ เพื่อป้องกันเรื่องการไม่ให้ควบรวมกันระหว่างพรรคการเมืองหลังการเลือกตั้ง เพราะในอดีตเคยมีประสบการณ์มาแล้ว
ประสบการณ์ในอดีตพรรคที่ใหญ่กว่าเวลาต้องการเสียงสนับสนุนในสภามากกว่าเดิม หรือก่อนการเลือกตั้ง ก็จะใช้วิธีการควบรวมพรรคอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า เพียงแต่กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการควบรวม แต่นัยยะก็ถือเป็นการเพิ่มจำนวนส.ส.ให้กับพรรคใหญ่กว่า เท่ากับว่าผลลัพธ์ออกมาเหมือนกัน
เมื่อถามว่ากรณีนี้จะทำให้พรรคอื่นดำเนินการตามหรือไม่ นายสติธร กล่าวว่า มีแนวโน้มว่าพรรคเล็กจะใช้วิธีเดียวกับกรณีของนายไพบูลย์ ซึ่งในส่วนของส.ส.เขตไม่น่าจะมีปัญหา แต่ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อาจเป็นปัญหาที่ต้องถกเถียงกัน เพราะรัฐธรรมนูญคุ้มครองสถานะส.ส.
แต่คะแนนจะเป็นปัญหา และเมื่อนำคะแนนไปรวมกับพรรคใหม่ก็จะมีปัญหาการเลื่อนลำดับบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น ซึ่งจะเป็นปัญหาว่าแล้วคุณจะไปแทรกอยู่ตรงไหนของบัญชีรายชื่อ
แปลว่าพรรคเล็กอื่นๆอาจอยากทำตาม แต่พรรคที่เล็กจะเข้าไปสมัครอาจไม่ชอบ เพราะบัญชีรายชื่อเดิมของเขาอาจเสียไปและได้คนจากพรรคเล็กเข้าไปแทน โดยที่คนเหล่านี้อยู่นอกบัญชีรายชื่อ 150 คน
แล้วจะเกิดปรากฎการณ์ว่า ส.ส.ที่มาจากระบบย้ายเข้า จะกลายเป็นส.ส.อมตะ ไม่มีวันตาย คือพูดง่ายๆ ว่าคนอื่นๆ เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ ในเขตที่มีการทุจริตการเลือกตั้ง และต้องมีการคำนวณคะแนนใหม่ คนอื่นมีโอกาสหลุดออกจากบัญชีแต่คนที่ลอยมาจากพรรคอื่นอยู่นอกบัญชีแปลว่าสถานะคงที่ตลอดไป ทั้งๆที่ถ้าเขาอยู่พรรคเดิมอาจหลุดจากการเป็นส.ส. ถ้ามีการคำนวณคะแนนใหม่
ปัญหานี้กกต.ในฐานะผู้ถือกฎหมายต้องตีความและเทียบเคียงกฎหมายให้เกิดความชัดเจน เพราะกฎหมายไม่ได้พูดถึงการโอนคะแนนจากพรรคหนึ่งไปสู่พรรคหนึ่ง ตามสถานภาพของส.ส.ที่ย้ายจากพรรคหนึ่งไปอีกพรรคหนึ่ง และไม่ได้พูดว่าให้ทิ้งคะแนนแล้วไปคำนวณใหม่ เมื่อกฎหมายไม่ได้พูดถึงจะทำแบบนี้ก็คงไม่ได้ วิธีการที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือการเทียบเคียงกับระบบที่วางเอาไว้
แต่เราไม่ควรตีความกฎหมายที่สร้างความจูงใจให้พรรคเล็กทำตาม แต่ควรตีความและสร้างแนวปฏิบัติให้เกิดแนวบรรทัดฐาน ซึ่งเรื่องดังกล่าวต้องยอมรับว่าเกิดความไม่ชัดเจนจากข้อกฎหมาย ซึ่งยังมีอีกหลายมาตราที่ไม่ได้ระบุไว้ โดยคนที่ลองทำอาจอยากให้เกิดการตีความแล้วเกิดแนวปฏิบัติ เมื่อเกิดบรรทัดฐานแบบนี้แล้วพรรคอื่นจะทำตามหรือไม่
ต้องรอดูกกต.จะพิจารณาอย่างไร ซึ่งผลออกมาถ้านายไพบูลย์พอใจเรื่องก็จบ แต่ถ้าไม่พอใจในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงก็อาจยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดกฎหมายหรือไม่
ไพบูลย์ รีบแจ้น! โร่ยื่นเอกสาร “ยุบพรรคตัวเอง” อดีต กกต. เกาหัว แบบนี้ก็ได้เหรอ?
‘สามารถ’ บอก เรื่องคิดคะแนนหลัง ‘ไพบูลย์’ ย้ายซบ พปชร.ไม่ง่ายอย่างที่คิด ชี้อาจไม่ตรงเจตนา ปชช.
2019-08-23 15:00:00Z
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2829538
0 Comments:
Post a Comment